จากหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในประเทศไทย คริสตจักรไมตรีจิตแห่งคณะแบ๊บติสต์ The Maitrichit Chinese Baptist Church เป็นคริสตจักรโปรเตสแตนต์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นคริสตจักรชาวจีนโพ้นทะเลแห่งแรกในโลก คริสตจักรไมตรีจิตได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1837 โดยมีเรื่องราวบันทึกไว้ดังนี้ 22 มีนาคม ค.ศ. 1833 ศจ.โจนส์ และภรรยา (Rev. & Mrs. John Taylor Jones) เดินทางจากประเทศพม่ามายังประเทศไทย ท่านเป็นมิชชันนารีคณะแรกของอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่สภาพสังคมในขณะนั้นยังไม่เอื้อต่อการประกาศพระกิตติคุณ เนื่องจากทางราชการยังไม่อนุญาตให้มิชชันนารีฝรั่งเผยแพร่ศาสนาใหม่ให้กับชาวไทย ท่านจึงทำได้เพียงประกาศให้กับชาวจีนที่พำนักอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ขอบคุณพระเจ้าที่สถานการณ์เช่นนี้กลับเป็นเรื่องดีสำหรับพี่น้องชาวจีนในประเทศไทยที่จะได้รับฟังข่าวประเสริฐก่อน 22 กันยายน มีพี่น้องชาวจีน 3 คน ตัดสินใจกลับใจรับเชื่อพระเจ้า เป็นบุคคลที่รับบัพติศมา 3 คนแรกของประเทศไทย ได้แก่ คุณบุ่งตี่ คุณเผ่งเจ็ก และ ซิงแซเจ็ก ตามหลักฐานระบุว่า ศจ.กุตส์สลาฟฟ์ เป็นผู้นำคุณบุ่งตี่มารับเชื่อเป็นคริสเตียน ค.ศ. 1834 อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นได้มอบหมายให้ ศจ.ดีน และภรรยา (Rev. & Mrs. William Dean D.D.) มาทำงานด้านการประกาศกับชาวจีนในประเทศไทยโดยตรง 11 มกราคม ค.ศ.1835 ศจ.ดีน และภรรยา (Rev. & Mrs. William Dean D.D.) เดินทางมาถึงประเทศสิงคโปร์ แต่ในวันที่ 5 มีนาคม แหม่มดีนเสียชีวิตจากการให้กำเนิดบุตรสาว (มาทิลดา) แม้ว่า คุณหมอบรัดเลย์ และภรรยา (Dr. & Mrs. Dan Beach Bradley) ที่ได้โดยสารมาในเรือลำเดียวกัน ได้ทำการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถรักษาชีวิตของแหม่มดีนไว้ได้ หมอบรัดเลย์และภรรยาที่เพิ่งจะสูญเสียลูกสาวไปเมื่อไม่นานมานี้ จึงขอรับมาทิลดา (Ms. Matilda Dean) มาเลี้ยงดูในเวลาเดียวกันนั้น ศจ.โจนส์ ได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังประเทศสิงคโปร์ เพื่อรับ ศจ.ดีน มาร่วมงาน แต่ในระหว่างเดินทางกลับมาประเทศไทย เรือที่พวกท่านโดยสารต้องปะทะกับเรือโจรสลัด โจรกลุ่มนั้นเข้าใจผิดคิดว่ากล่องเอกสารที่พวกท่านนำติดตัวมาด้วยเป็นสมบัติมีค่า จึงได้ปล้นชิงไปและทำร้ายทั้งสองท่าน ขอบคุณพระเจ้าที่ได้ทรงคุ้มครองท่านทั้งสองให้เดินทางถึงกรุงเทพฯ ได้ในที่สุด ซึ่งตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม เวลา 2 ทุ่ม หลังผ่านวิกฤตการณ์ใหญ่ในชีวิตถึง 2 ครั้ง ศจ.ดีน ต้องเผชิญกับความทุกข์และความโดดเดี่ยวแต่ท่านไม่เคยลืมการทรงเรียกจากพระเจ้า ท่านยังคงประกาศพระกิตติคุณอย่างสุดกำลัง ภายในเวลาไม่กี่เดือนท่านก็สามารถที่จะใช้ภาษาแต้จิ๋วง่ายๆ ในการประกาศได้ ในเดือนธันวาคม ศจ.ดีน ได้เป็นผู้ประกอบพิธีบัพติศมา ให้กับชาวจีน 3 คนที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะนั้นมีผู้มาร่วมนมัสการในแต่ละสัปดาห์ประมาณ 50 กว่าคน และจำนวนคนก็ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1836 อ.รีด (Mr. Alanson Reed) กับ อ.ชังค์ (Mr. J. L. Shunck) เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ พวกท่านได้ใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนเรือนแพ และล่องตามแม่น้ำ เพื่อแจกจ่ายใบปลิวประกาศพระกิตติคุณ แหม่มดาเวนพอร์ท (Ms. Davenport) ซึ่งเป็นผู้ประกาศและมีความสามารถด้านการพิมพ์ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อก่อตั้งโรงพิมพ์ของคณะแบ๊บติสต์ขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อพิมพ์ ใบประกาศพระกิตติคุณและพระคัมภีร์ฉบับภาษาไทย แปลจีน วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1837 ขณะที่ ศจ.มัลคอม (Rev. Malcom) ผู้แทนจากอเมิกันแบ๊บติสต์มิชชั่น ได้มาเยี่ยมดูงานที่ประเทศไทย และได้สถาปนาคริสตจักรวัดเกาะขึ้น ในเวลานั้นมีสมาชิก 11 คนโดยมี ศจ.ดีน เป็นศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักร นับเป็นคริสตจักรจีนแบ๊บติสต์ของชาวจีนแต้จิ๋วที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกไกล โดยเรียกคริสตจักรที่เริ่มต้นขึ้นใหม่นี้ว่า “คริสตจักรวัดเกาะ” เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ในละแวกถิ่นที่อยู่ของชาวจีนที่เรียกว่า “ย่านวัดเกาะ” ใกล้ตรอกข้าวสาร ถนนสำเพ็ง
วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1839-1884 อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นได้ส่งมิชชันนารีคนใหม่มาอีก 2 ท่าน คือ ศจ.ก็อดดาร์ด และภรรยา (Rev. & Mrs.Josiah Goddard) เพื่อมาช่วยงานประกาศกับชาวจีน และ ศจ.สลาฟเตอร์ และภรรยา (Rev. & Mrs.C.H. Slafter) ซึ่งมาประกาศพระกิตติคุณให้กับคนไทย ในแต่ละอาทิตย์มีผู้มาประชุมเป็นชาวจีน 20 กว่าคน และชาวไทยประมาณ 30-50 คน
ค.ศ.1841 มีชาวจีน 6 คน และ ชาวไทย 1 คนรับบัพติศมา ในปีนั้น ศจ.ดีน ได้เปิดชั้นเรียนพระคัมภีร์ เพื่ออบรมชาวจีนหนุนใจให้ออกไปประกาศ ซึ่งชาวจีนในชั้นเรียนดังกล่าวเกิดผลอย่างมากมายในภายหลัง
ค.ศ.1842 ศจ.ดีน ได้ล้มป่วยลง จึงต้องย้ายไปรักษาตัวที่ฮ่องกง เมื่อหายป่วยเป็นปกติดีแล้วท่านก็ยังคงทำงานต่อที่ฮ่องกง
ค.ศ.1850 เมื่อผู้ประกาศชาวจีนที่รับผิดชอบคริสตจักรได้เสียชีวิตลง ศจ.ดีน จึงได้เดินทางกลับมาจากฮ่องกง เพื่อช่วยงานที่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อดูแลงานต่างๆ ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกในคริสตจักร 35 คน เป็นชาวจีน 30 คน จนถึงปี ค.ศ.1864 จึงได้เดินทางกลับมาทำงานประจำในประเทศไทยอีกครั้ง
ค.ศ.1881 ศจ.ดีน อายุ 74 ปี ท่านได้ฉลองวันเกิดของท่านที่คริสตจักรชนบทแห่งหนึ่ง ในวันนั้นมีผู้รับเชื่อ 24 คนและรับบัพติศมา โดยศิษยาภิบาลโขว บั๊ก เป็นผู้ให้บัพติศมาในแม่น้ำ และมีผู้รับบัพติศมา อีก 26 คนในวันรุ่งขึ้น วันนั้นมีการเลี้ยงใหญ่ มีการจุดพลุและเดินถือธงแห่ไปตามถนน เพื่ออวยพรวันเกิดและแสดงความยินดีกับ “อาจารย์ที่เคารพ” ผู้นี้
ค.ศ.1882 ศจ.ดีน เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวของบุตรสาว (Fanny Dean Goddard) ที่หลิงโป วันที่ท่านเดินทางกลับมายังประเทศไทย ตรงกับวันฉลองครบรอบ 100 ปีของราชวงศ์จักรี ท่านได้เห็นผลแห่งความเจริญของประเทศไทย จึงมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ค.ศ.1884 ศจ.ดีน ได้ชราลงมาก จึงได้เดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกา ในทุกๆ ฤดูร้อนท่านจะไปพักอยู่กับบุตรสาวหรือบุตรชายที่นิวแฮมเชียร์ ส่วนฤดูหนาว ท่านก็จะย้ายไปอยู่ที่รัฐฟลอริดา หรือแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ในระหว่างที่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ท่านยังสนใจงานต่างๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะงานในประเทศไทย จนถึงเดือนสิงหาคมปี 1895 ท่านได้จากไปอย่างสงบเมื่ออายุ 88 ปี ณ เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ค.ศ.1843-1869 มีมิชชันนารีอีกหลายคนที่ได้เสียสละตนเองเพื่อเดินทางมาประกาศกับพี่น้องชาวจีนและคนไทยในประเทศไทยตามพระประสงค์ของพระเจ้า มีหลายคนที่ได้สร้างผลงานความเชื่อไว้ให้คนรุ่นหลังมากมาย แต่ก็มีอีกหลายคนที่ต้องพ่ายแพ้ต่อสภาพภูมิอากาศ และความโหดร้ายของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เนื่องจากการสาธารณสุขในประเทศไทยในเวลานั้นยังไม่ก้าวหน้า มีบางคนได้เดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของตน แต่มีอีกหลายคนที่ต้องจบชีวิตในวัยหนุ่มสาวในแผ่นดินไทยของเรานี้ ความรอดของชาวจีนและชาวไทย ล้วนแลกมาด้วยชีวิตของมิชชันนารีจากอเมริกาที่ยอมสละความสุขสบายมาเพื่อช่วยชีวิตและจิตวิญญาณของคนที่ไม่เคยรู้จักจนต้องสละแม้ชีวิตของตน
ค.ศ.1851-1876 อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่น เริ่มหันทิศทางพันธกิจไปที่ประเทศจีน, ความสัมพันธ์ไมตรีจิต กั๊กเจียะ เนียตัง
ค.ศ.1851 ศจ.แอชมอร์ (Rev. William Ashmore D. D.) เริ่มงานประกาศกับชาวจีนในประเทศไทย ท่านทำงานอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 7 ปี หลังจากนั้นจึงย้ายไปที่ฮ่องกง ต่อมาท่านได้เป็นผู้ก่อตั้ง “คริสตจักรแบ๊บติสต์กั๊กเจียะ” ที่เมืองซัวเถา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคณะแบ๊บติสต์ที่เนียตัง ในเวลาต่อมา คณะแบ๊บติสต์เนียตังภายหลังเป็นองค์กรสำคัญแห่งหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือคริสตจักรของเราเป็นอย่างมาก ในช่วงที่อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นระงับการสนับสนุนประเทศไทย ทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์
ค.ศ.1872 อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่น ตัดสินใจรวบรวมกำลังมุ่งการทำงานที่ประเทศจีน จึงลดการช่วยเหลือลง คงเหลือแต่ ศจ.ดีน ท่านเดียวที่อยู่ดูแลงานในประเทศไทยต่อไป
ค.ศ.1873 มีผู้รับบัพติศมา 30 คน และมี 4 คน ที่ศึกษาพระคัมภีร์ เพื่อเตรียมที่จะเป็นผู้ประกาศต่อไป ซึ่งเมื่อคนเหล่านี้ได้กลับไปที่ประเทศจีนบ้านเกิด ก็ได้นำความเชื่ออันเข้มแข็งและบทเรียนที่ได้เรียนรู้จาก ศจ.ดีน ไปประกาศที่ซัวเถา ได้ก่อตั้งคริสตจักร มีผู้เชื่อและผู้ติดตามพระคริสต์มากมายที่นั่น เหตุการณ์เหล่านี้ยังได้บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของคริสตจักรเหล่านั้นในประเทศจีนจนถึงปัจจุบัน และความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องชาวจีนในพระคริสต์ในทั้ง 2 ประเทศ ยังคงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
ค.ศ.1876 ศจ.ดีน ผู้ทำงานทั้งในประเทศไทยและที่อื่นๆ ในเอเชียมานานถึง 42 ปี ได้เป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรจีน 6 แห่ง สถานประกาศ 4 แห่ง สถาปนาศาสนาจารย์ 3 ท่าน อบรมผู้ประกาศ 2 คน และให้บัพติศมาผู้รับเชื่อทั้งหมด 339 คน ในจำนวนนี้มีผู้ถวายตัวรับใช้พระเจ้าถึง 12 คน
ค.ศ.1882-1893 ขาดการสนับสนุนจากมิชชันนารี
ค.ศ.1882 อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่น ได้มอบหมายให้ ศจ.อีตัน และภรรยา (Rev. & Mrs. L. A. Eaton) เดินทางมาช่วยเหลือคริสตจักรจีนในประเทศไทย แต่แล้วในปี ค.ศ.1891 แหม่มอีตันได้เสียชีวิตลง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เวลาต่อมาในปี ค.ศ.1893 ศจ.อีตัน จึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศ ท่านได้ขายทรัพย์สินของคณะแบ๊บติสต์ที่อยู่ใกล้กับสถานทูตโปรตุเกส แล้วมอบคริสตจักรให้อยู่ภายใต้ การดูแลของนายแพทย์อแดมเซน (Dr. Hans Adamsen) งานของอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นจึงได้หยุดชะงักลงชั่วขณะหนึ่ง
ภายหลังนายแพทย์อแดมเซน มีธุรกิจส่วนตัวมากเกินไป จึงได้มอบหมายงานของคริสตจักรไว้กับคณะมิชชั่นเนียตัง ซึ่งอยู่ที่ซัวเถาให้เป็นผู้ดูแล หลังจากนั้น อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นไม่ได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยอีกเลย ในระยะแรกๆ ยังมี ศจ.ฟอสเตอร์ (Rev. John M. Foster D. D.) เดินทางจากซัวเถามาเยี่ยมเยียนคริสตจักรคนจีนที่กรุงเทพฯ ปีละครั้ง
ค.ศ.1924 การรวมตัวของคริสตจักรชาวจีนในประเทศไทย คริสตจักรจีนในประเทศไทยได้รวมตัวกัน โดยการประสานงานของคริสตจักรไมตรีจิต คริสตจักรสะพานเหลือง และคริสตจักรสาธร ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็น “ศูนย์ประสานงานคริสตจักรจีนในประเทศไทย” เพื่อดำเนินพันธกิจร่วมกัน และเพื่อประสานงานกับคริสตจักรอื่นๆ ในประเทศ
ค.ศ.1927 เกือบสูญเสียที่ดินคริสตจักรวัดเกาะอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นเลือกที่จะมุ่งมั่นทุ่มเทการทำพันธกิจในประเทศจีนเพียงแห่งเดียว ทำให้ต้องตัดสินใจยุติงานทั้งหมดในประเทศไทย และได้ทำการขายทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งมีมูลค่าถึง 50,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำไปใช้เตรียมงานสำหรับพันธกิจที่ประเทศจีน ขอบคุณพระเจ้าที่ “คริสตจักรวัดเกาะ” คริสตจักรคนจีนที่ก่อตั้งขึ้น โดย ศจ.ดีน ตั้งแต่ปี 1837 แห่งนี้ ได้รับการคุ้มครองจากพระเจ้าไม่ได้ถูกรวมอยู่ในทรัพย์สินที่ถูกขายไปด้วย ทำให้คริสตจักรจึงยังคงมีการประชุมนมัสการได้ตามปกติ ค.ศ.1929 คณะแบ๊บติสต์เนียตัง ที่เมืองซัวเถา ได้เข้ามาช่วยรับผิดชอบงานในประเทศไทย โดยได้ส่ง ศจ.หล่อ เขียก เม้ง มาเป็นศาสนาจารย์ประจำที่คริสตจักรวัดเกาะ ค.ศ.1931 ซื้อ ที่ดินใกล้วงเวียน 22 กรกฎาฯ ศจ.หล่อ เขียก เม้ง เดินทางกลับไปทำงานที่ซัวเถา ดังนั้น คณะแบ๊บติสต์เนียตัง จึงได้ส่ง ศจ.กี๋ กัง มาประจำที่คริสตจักรวัดเกาะ และอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่น ก็ได้ส่ง ศจ.กรอสเบค (Rev. Adam Groesbeck) มายังประเทศไทย ท่านได้เริ่มต้นซื้อที่ดินบนถนนไมตรีจิต ใกล้กับวงเวียน 22 กรกฎา ซึ่งเป็นที่ตั้งของคริสตจักรไมตรีจิตในปัจจุบัน สาเหตุเนื่องจากบริเวณแถบวัดเกาะเป็นชุมชนค้าขาย มีผู้คนพลุกพล่านเกือบตลอดเวลา และมีกุลีอาศัยอยู่ในละแวกนั้นเป็นจำนวนมากแม้ในช่วงเวลากลางคืนอีกทั้งเสียงดังจากการทำมาค้าขายในบริเวณนั้น ก็เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการนมัสการด้วย ทางคริสตจักรจึงคิดที่จะย้ายสถานที่นมัสการ ค.ศ.1934 กำเนิดสภาคริสตจักร ค.ศ.1935 เริ่มงานก่อสร้างที่วงเวียน 22 ในช่วงต้นปี ทางคริสตจักรได้ขายที่ดินที่บริเวณวัดเกาะ และเริ่มงานก่อสร้างคริสตจักรแห่งใหม่ บนที่ดินผืนใหม่นี้ ในระหว่างนั้นได้ใช้สถานที่ประชุมชั่วคราวที่ถนนสันติภาพ บริเวณวงเวียน 22 กรกฎา วันที่ 14 กันยายน เวลาบ่าย 2 โมง ได้มีพีธินมัสการถวายคริสตจักรไมตรีจิตแห่งนี้ บุคคลสำคัญ ผู้ที่มาร่วมพิธีในวันนั้น นอกเหนือจากสมาชิกคริสตจักร ได้แก่ ศจ.กี๋ กัง (ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรไมตรีจิต), ศจ.กรอสเบค, ผู้แทนจากคณะแบ๊บติสต์เนียตัง, ศจ.โฮบาร์ท (Rev. Kenneth G. Hobart), ศจ.เปลื้อง สุทธิคำ (ประธานคนแรกของสภาคริสตจักรในประเทศไทย), ศจ.บุญมาก กิตติสาร, ศจ.ซีเกิล (Rev. A. G.Seigle), นพ.แมคฟาร์แลนด์ (Dr. George B. McFarland), ศจ.เอ็ดเวิร์ด (Rev. Erie Edwards) แห่งคณะ Church of England และท่านทูตสหรัฐประจำประเทศไทย มร.เบเกอร์ (Mr. J. M. Baker) เงินค่าก่อสร้างและค่าที่ดินของคริสตจักรไมตรีจิต ได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ส่วน ทั้งจาก อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เงินถวายของสมาชิกคริสตจักร รวมทั้งเงินบริจาคจาก ผู้มีใจสนับสนุนงานด้านการศึกษา อาคารคริสตจักรแห่งนี้ ประกอบด้วยห้องประชุมนมัสการใหญ่ที่อยู่บนชั้น 2 ซึ่งจุได้ถึง 400-500 คน (นับว่าเป็นห้องประชุมที่มีขนาดใหญ่มากในสมัยนั้น) ส่วนชั้นล่างเป็นห้องเรียนสำหรับ โรงเรียนซือลิบจิงกวง 8 ห้อง ทางด้านซ้ายของอาคารเป็นตึกอาคารสูง 2 ชั้น ใช้เป็นห้องพักครู และห้องสมุด ทางด้านขวาใกล้ประตูใหญ่เป็นบ้านพักศิษยาภิบาล ในการนมัสการวันนั้น มีผู้รับบัพติศมา 24 คน หลังจากการก่อสร้างอาคารของโบสถ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นยังคงช่วยเหลือด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ ของคริสตจักรต่ออีกเป็นเวลา 3 ปี แต่มีนโยบายให้ลดเงินช่วยเหลือลงปีละ 1 ใน 3 จนคริสตจักรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในภายในปี ค.ศ.1939 ค.ศ.1939 ศจ.เตียเตี่ยวสุย ศิษยาภิบาลคริสตจักรไมตรีจิต ได้นำสมาชิกคริสตจักรไมตรีจิตกลุ่มหนึ่ง แยกออกไปตั้งคริสตจักรชาวสวน ที่ตำบลหนองงูเหลือม จังหวัดชลบุรี หรือที่เรียกว่าคริสตจักรหนองงูเหลือม ในเวลาต่อมาสมาชิกหลายคนของคริสตจักรหนองงูเหลือม ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลหัวกุญแจและได้ก่อตั้งเป็น “คริสตจักรหัวกุญแจ” อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1952 ค.ศ.1940 เหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์คริสตจักรไมตรีจิต คือการมาเยือนของ ดร.จอห์น ซง ท่านได้มาเทศนาในงานประกาศใหญ่ที่ประเทศไทย ทำ ให้คริสตชนในคริสตจักรต่างๆได้รับการฟื้นฟูเป็นอย่างมาก สมาชิกของคริสตจักรไมตรีจิตร่วมกับสมาชิกของคริสตจักรสะพานเหลืองและคริสตจักรสาธร เริ่มต้นก่อตั้ง “กองประกาศร่วม” ทำให้เกิดการประกาศพระกิตติคุณอย่างแข็งขันไปทั่วประเทศ ค.ศ.1942-1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นบุกเข้ามาในประเทศไทย กรุงเทพฯ กลายเป็นเป้าหมายหลักของการทิ้งระเบิด ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือน ประชาชนต้องวิ่งเข้าหาที่หลบภัยเพื่อรักษาชีวิต สมาชิกของคริสตจักรต่างต้องแยกย้ายกันออกไปอยู่ตามหัวเมือง มีคนที่มานมัสการในวันอาทิตย์อยู่ประจำเพียงเล็กน้อย งานรวีวารศึกษาที่นำโดยคุณลิ้ม เฮง เตียก กับ คุณไสว ตู้สิริ และงานอื่นๆ ของคริสตจักรได้หยุดชะงักลง หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สมาชิกจึงได้ทยอยกลับเข้ากรุงเทพฯ และมีสมาชิกใหม่ๆ ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากซัวเถา ค.ศ.1946 ภายหลังสงคราม รัฐบาลไทยอนุญาตให้โรงเรียนซือลิบจิงกวง กลับมาเปิดทำการสอนได้ตามปกติ พันธกิจด้านต่างๆ สามารถกลับเข้าสู่รูปแบบเดิมได้อีกครั้ง ค.ศ.1950 เริ่มต้นงานสถานประกาศตลาดพลู สมาชิกได้ร่วมกันถวายเงินเพื่อต่อเติมชั้น 3 ของตัวโบสถ์ เพื่อใช้เป็นห้องเรียนเพิ่มเติมของโรงเรียนซือลิบจิงกวง และภายใต้การนำของ อ.ลิ้มป่วยหงี คริสตจักรไมตรีจิตได้ก่อตั้งสถานประกาศตลาดพลูที่ฝั่งธนบุรี เพื่อประกาศแก่ชาวจีนในบริเวณนั้น ค.ศ.1953 รัฐบาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่สุสานที่ถนนเจริญกรุง เป็นสถานที่ฝังศพอีกต่อไป คณะสงเคราะห์จึงมีมติให้ขายที่ดินด้านหน้าสุสาน ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน เพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินและย้ายสุสานไปยังนครปฐม ที่ดินส่วนที่เหลือที่ถนนเจริญกรุงถูกใช้เป็นสถานคริสเตียนบริการ ในเวลาต่อมา เงินส่วนที่เหลือจากการขายที่ดินได้นำไปใช้ในการสร้างเป็นตึก 3 ชั้นทางด้านซ้าย เพื่อใช้เป็นแผนกอนุบาล ค.ศ.1954 ภาค 7 เริ่มขัดแย้งกันเกี่ยวกับหลักข้อเชื่อในพิธีบัพติศมา มีผู้ปกครองบางท่านในคริสตจักรภาคที่ 7 ได้มีแนวคิดว่า คริสตจักรใดในภาคที่ 7 ที่ต้องการ ประกอบพิธีบัพติศมาด้วยการจุ่ม ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้นำภาคก่อน (ซึ่งการบัพติศมาด้วยการจุ่มทั้งตัว เป็นหลักข้อเชื่อของแบ๊บติสต์ ที่แตกต่างจากคณะนิกายอื่น) จึงเริ่มทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ภายในภาคที่ 7 คริสตจักรที่เป็นแบ๊บติสต์ ได้แก่ คริสตจักรไมตรีจิตและคริสตจักรหัวกุญแจ จึงขอถอนตัวออกจากสังกัดของภาคที่ 7 และขอให้สภาคริสตจักรในประเทศไทยอนุญาตให้ก่อตั้งภาคใหม่ แต่ในปีนั้นข้อเสนอดังกล่าว ยังไม่สามารถจัดตั้งให้สำเร็จเรียบร้อยได้ ในปีนั้นเอง เนื่องจากห้องเรียนของโรงเรียนไม่พอเพียงจึงได้มีการต่อเติมอาคารชั้น 3 ทางด้านซ้ายของตัวโบสถ์ ค.ศ.1955 สร้างอาคาร ค.ศ.1959 กำเนิดภาค 12 และ อาคารหอระฆัง เอกลักษณ์ของไมตรีจิต วันที่ 23 มีนาคม ไม่ใช่วันอาทิตย์ คริสตจักรไมตรีจิตและคริสตจักรหัวกุญแจ ร่วมกันก่อตั้งเป็นคริสตจักรภาคที่ 12 แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีการประชุมนมัสการร่วมกันของสมาชิกทั้งสองคริสตจักร พร้อมด้วยผู้แทนจากคริสตจักรต่างๆ ที่มาร่วมแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก และในปีนั้น เนื่องจากจำนวนนักเรียนของโรงเรียนซือลิบจิงกวง มีเพิ่มขึ้นอีกมาก จึงได้ทำการปรับปรุงประตูใหญ่ด้านหน้าคริสตจักร และก่อสร้างอาคารใหม่สูง 5 ชั้น ที่ด้านหน้าของที่ดิน ติดถนนไมตรีจิต ที่ชั้นบนสุดของอาคารได้ก่อสร้างเป็นหอระฆัง และติดตั้งระฆังใบใหญ่ไว้ ซึ่งหอระฆังนี้ได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคริสตจักรไมตรีจิต มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งได้ต่อเติมเพิ่มอีกหนึ่งชั้นเพื่อใช้เป็นโรงอาหาร และมีพิธีถวายอาคารใหม่นี้ ในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.1960-1961 กำเนิดโรงเรียนอนุบาลแสงประเสริฐ ค.ศ.1962 กำเนิดโรงเรียนสามมุกคริสเตียนวิทยา ค.ศ.1967 ย้ายสุสาน ค.ศ.1970 แก้ไขธรรมนูญ ค.ศ.1973 ในเดือนมีนาคม ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการกองทุนการศึกษาขึ้น ค.ศ.1974 ค.ศ.1975 ครบรอบก่อสร้างอาคารคริสตจักร 40 ปี วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1975 เวลา 14:00 น. เป็นวันฉลองโมทนาพระคุณพระเจ้าเนื่องในการก่อสร้างอาคารคริสตจักรครบรอบ 40 ปี และมีการจัดทำหนังสืออนุสรณ์เพื่อเป็นที่ระลึกด้วย 4 เมษายน ค.ศ.1977 มีการสถาปนา อ.สุวิมล ก้องกังวาฬโชค และ อ.พิชัย พิริยวัฒนาพร เป็นศาสนาจารย์ประจำคริสตจักร ในปีนี้คริสตจักรได้รับเงิน 8 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ จากอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นเป็นเงินถวายของลูกศิษย์ของคุณพ่อของแหม่มหลุยส์ กิฟฟิน ซึ่งเคยอยู่ที่อำเภอฟ่วยกุ่ย เงินจำนวนนี้ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างโบสถ์ที่โรงเรียนสามมุกคริสเตียนวิทยา เพื่อเป็นการระลึกถึงท่าน ค.ศ.1978 กำเนิดวันคารวะผู้อาวุโส กำเนิดงานมิชชั่น 24 พฤษภาคม สมาชิกจัดงานเลี้ยงส่ง แหม่มหลุยส์ กิฟฟิน กลับสหรัฐฯ คริสตจักรได้กำหนดให้มี วันคารวะผู้อาวุโส ในช่วงบ่ายของวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี สำหรับสมาชิกผู้ที่มีอายุครบ 70 ปีขึ้นไป จะได้รับเชิญมาร่วมงาน และมีการจัดเลี้ยงร่วมรับประทานอาหารสังสรรค์กันในหมู่สมาชิกสำหรับเทศกาลคริสต์มาส ผู้อาวุโสได้รับของขวัญและรับประทานอาหารเป็นประเพณีที่ทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 9 กรกฎาคม หลังจากได้รับการหนุนใจจาก ศจ.แต่ก้วย ที่มาเทศนาเกี่ยวกับงานมิชชั่น คณะมัคนายกและตัวแทนทุกหน่วยงานจึงร่วมกันก่อตั้งพันธกิจมิชชั่นขึ้น มีการเชิญ ศจ.ลีฮุยอั้ง จากคริสตจักรฮีแปะลุ้ง ที่ฮ่องกง มาเทศนาเกี่ยวกับปีมิชชั่น ในวันที่ 11-13 สิงหาคม เริ่มมีการจัดทำธรรมนูญของมิชชั่น และได้สนับสนุนมิชชันนารีหญิง 2 ท่าน และสามีภรรยา 2 คู่ ต่อมาสมาชิกได้มีส่วนร่วมในการถวายทรัพย์เพื่องานมิชชั่นมาจนปัจจุบันนี้ และกำหนดให้วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน 1979 เป็นวันมิชชั่น เพื่อการแนะนำมิชชันนารี รายงานงบประมาณ และรวบรวมเงินถวายพันธกิจมิชชั่น และถือเป็นวันมิชชั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ค.ศ.1979 กำเนิดมูลนิธิคริสเตียนบริการ และทำหนังสือทำเนียบสมาชิก ค.ศ.1980 กำหนดพิธีมหาสนิท และบัพติศมา ค.ศ.1982 กำเนิดห้องสมุด ค.ศ.1983 ในปีนี้คริสตจักรภาคที่ 12 มีมติขอให้คริสตจักรในภาค เริ่มต้นส่งเงินค่าสมาชิกคนละ 100 บาท ต่อปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายในภาค วันที่ 15 กรกฎาคม เกิดไฟไหม้ที่โรงเรียนอนุบาลแสงประเสริฐ จึงได้ยื่นเรื่องขออนุญาตต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อทำการก่อสร้างอาคารใหม่ เนื่องจากการก่อสร้างอาคารโบสถ์รองเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว คณะฌาปนกิจสงเคราะห์ จึงได้เริ่มใช้ชั้นล่างของโบสถ์รองเป็นที่ประกอบพิธีไว้อาลัย ค.ศ.1984 กำเนิดคณะบุรุษ ค.ศ.1985 จัดงานนมัสการโมทนาพระคุณพระเจ้า เนื่องในโอกาสฉลองการก่อสร้างอาคาร คริสตจักรครบรอบ 50 ปี และมีพิธีสถาปนามัคนายก บุญอิทธิ์ บูรพวงศ์ เป็นศาสนาจารย์ของคริสตจักรไมตรีจิต ค.ศ.1987 มีการทดลองแปลคำเทศนาภาษาจีนเป็นภาษาไทย เป็นครั้งแรก ค.ศ.1990 วันที่ 4-5 พฤษภาคม มีการจัดงานประกาศใหญ่ของ ศจ.หลุยส์ พาเลา (Louis Palau) ได้เชิญคณะลิเกจากมหาวิทยาลัยพายัพมาแสดงที่คริสตจักร เรือประกาศพระกิตติคุณดูโลส (DOULOS) มาประเทศไทยเป็นครั้งแรก วันที่ 7 ตุลาคม ศจ.บุญอิทธิ์ บูรพวงศ์ ได้มอบที่ดินประมาณ 5 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อำเภอ ท่าก่อซ้อ จังหวัดเชียงราย ให้กับมิชชั่นไมตรีจิตเพื่อใช้เป็นสถานประกาศ ค.ศ.1991 เปิด MTEC กำเนิดสถานประกาศหลังสวน คณะส่งเสริมการประกาศพระกิตติคุณชาวจีนแต้จิ๋วแบ๊บติสต์แห่งเอเชียอาคเนย์ ฉลองครบรอบ 20 ปี ที่ประเทศฮ่องกง ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมชาวจีนแต้จิ๋วแบ๊บติสต์ทั่วโลก” ซึ่งคริสตจักรไมตรีจิตได้เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้งและได้สานต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน วันที่ 1 กันยายน คริสตจักรได้อนุมัติให้มูลนิธิคริสเตียนบริการ (แบ๊บติสต์) ใช้สถานที่ของคริสตจักรเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของมูลนิธิ โดยได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและคริสตจักรได้เปิด ศูนย์เอ็มเทค M.T.E.C. (Maitrichit Theological Education Center) เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมาชิกให้ศึกษาพระคำของพระเจ้า วันที่ 22 ตุลาคม คณะมัคนายกได้ประชุมพิเศษ เกี่ยวกับการใช้สถานที่โรงเรียนอนุบาลแสงประเสริฐ ที่หลังสวน เป็นสถานประกาศไมตรีจิตหลังสวน ค.ศ.1992 ปรับปรุงอนุบาลแสงประเสริฐ ค.ศ.1994 กำเนิดกลุ่มเซลล์ ปิดโรงเรียนซือลิบจิงกวง กำเนิดสถานประกาศไมตรีจิตหลังสวน วันที่ 2 มกราคม สถานประกาศไมตรีจิตหลังสวน เริ่มมีการประชุมนมัสการในเช้าวันอาทิตย์ โดยการนำของ อ.ชุมแสง เรืองเจริญสุข ต่อมา อ.ชุมแสง ได้ขอลาออกจากงานรับใช้ที่สถานประกาศไมตรีจิตหลังสวน คริสตจักรจึงได้มอบหมายให้ อ.ศึกษา เทพอารีย์ ดำรงตำแหน่งศิษยาภิบาลสถานประกาศไมตรีจิตหลังสวน และเป็นทั้งผู้จัดการโรงเรียนอนุบาลแสงประเสริฐด้วย อ.อภิชาติ พูลศักดิ์วรสาร ได้เริ่มต้นโครงการ “กลุ่มเซลล์ชีวิตไมตรีจิต” ขึ้น โดยแบ่งเป็นเขตตามพื้นที่ของ กทม. และรวบรวมครอบครัวในแต่ละเขตมานมัสการร่วมกันเป็นประจำ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง วันที่ 9 มกราคม มีการตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 7 ท่านเพื่อปรับปรุงแก้ไขธรรมนูญของคริสตจักรประกอบด้วย คุณทอง เตชะรักษ์พงศ์, คุณสุรางค์ กิ่งหิรัญวัฒนา, คุณทวีศักดิ์ มหชวโรจน์, คุณประกิต ธรรมพักตรกุล, อ.ศึกษา เทพอารีย์, ศจ.บุญอิทธิ์ บูรพวงศ์ และคุณบุญส่ง สุภัครพงษ์กุล วันที่ 6 มีนาคม มน.บุญส่ง สุภัครพงษ์กุล ประธานมัคนายก ได้รายงานเกี่ยวกับที่ดินของคณะฌาปนกิจสงเคราะห์ ว่ายังไม่ได้เข้าสังกัดในมูลนิธิคริสเตียนบริการ (แบ๊บติสต์) เนื่องจากที่ดินของมูลนิธิจะถูกจำกัดโดยกฎหมาย จึงจำเป็นต้องตั้งมูลนิธิใหม่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการเป็นเจ้าของที่ดินที่สมาชิกได้ถวายไว้หลายแห่ง ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วย และได้ตั้งอนุกรรมการขึ้น เพื่อเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีมติให้ปิดโรงเรียนซือลิบจิงกวงเป็นการชั่วคราว เนื่องจากประสบกับภาวะขาดทุน ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี แม้จะมีความพยายามปรับปรุงโรงเรียนมาตลอด แต่นักเรียนก็ลดน้อยลงทุกปีเนื่องจากในขณะนั้นความนิยมภาษาจีนได้ลดน้อยลงมาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะเน้นให้บุตรหลานเรียนภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาจีน ค.ศ.1995 เริ่มต้นหนังสือทำเนียบสมาชิก กำเนิดมูลนิธิไมตรีจิต ฉลองอาคารครบ 60 ปี เริ่มงานสุสานที่หัวกุญแจ คริสตจักรได้เตรียมงาน สุสานแห่งใหม่ที่หัวกุญแจ จังหวัดชลบุรี เนื่องจากพื้นที่สุสานที่นครปฐม ไม่เพียงพอที่จะรองรับการใช้งานในอนาคต 6 สิงหาคม ที่ประชุมคณะมัคนายก รายงานว่า การจดทะเบียนตั้งมูลนิธิไมตรีจิต ได้รับการอนุมัติจากทางราชการ ให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย 10 ธันวาคม จัดพิธีสถาปนา อ.อภิชาติ พูลศักดิ์วรสาร เป็นศาสนาจารย์ของคริสตจักร ค.ศ.1996 กำเนิดคริสตจักรไมตรีจิตหลังสวน วันที่ 14 มกราคม เริ่มต้นปีด้วยเรื่องน่ายินดี โดยมีพิธีสถาปนา “สถานประกาศไมตรีจิตหลังสวน” เป็น “คริสตจักรไมตรีจิตหลังสวน” คุณสุนันทา สันติพจนา สมาชิกของคริสตจักร ได้มอบกรมธรรม์ประกันชีวิต 2 ฉบับ โดยให้คริสตจักรเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ดังกล่าว และมอบให้รองประธานมัคนายกเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ศจ.บุญอิทธิ์ บูรพวงศ์ ได้ถวายที่ดิน 1 ไร่ ที่อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ให้แก่คริสตจักรเพื่อใช้เป็นสถานประกาศของคณะมิชชั่นไมตรีจิต 28 กรกฎาคม เนื่องในโอกาส “กาญจนาภิเษก” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบรอบ 50 ปี คริสตจักรทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ ได้จัดงานเฉลิมฉลองที่สนามกีฬาไทย–ญี่ปุ่นดินแดง ซึ่งคริสตจักรไมตรีจิตได้เข้าร่วมโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงาน เดือนกันยายน คริสตจักรได้มีมติให้โอนที่ดิน 50 ไร่ ของโรงเรียนสามมุกคริสเตียนวิทยา จากสภาคริสตจักรในประเทศไทยกลับเข้ามาอยู่ในมูลนิธิไมตรีจิต โดยให้ทำหนังสือผ่านภาค 12 เพื่อติดต่อกับมูลนิธิสภาฯ ต่อไป ค.ศ.1997 “หยั่งรากและสร้างขึ้น” เริ่มต้นการแบ่งเขตการเลี้ยงดูสมาชิก ออกเป็น 8 เขต ตามพื้นที่ของกรุงเทพฯและปริมณฑลโดยคณะศิษยาภิบาล เพื่อเยี่ยมเยียนและหนุนใจให้สมาชิกในเขต มีการนมัสการตามบ้าน โดยใช้ชื่อ “กลุ่มเซลล์ชีวิตไมตรีจิต” วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม คณะมัคนายกอนุมัติเงินตั้งต้น 200,000 บาท เพื่อเปิดบัญชี “มูลนิธิไมตรีจิต” วันอาทิตย์ 6 กรกฎาคม นมัสการฉลองครบรอบ 160 ปี คริสตจักรไมตรีจิต โดย ศจ.เอลีชา วู เป็นผู้เทศนา ค.ศ.1998 “รีบเร่งนำวิญญาณ” วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม เริ่มงานพันธกิจคริสเตียนบริการที่คริสตจักรไมตรีจิต ทุกวันเสาร์ โดยเปิดสอนภาษาจีนกลาง ตัดเย็บเสื้อผ้า และการร้องเพลง วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน “วันมิชชั่น” พิธีสถาปนา อ.ศึกษา เทพอารีย์ และ อ.ศรีทิม พรมปัญญา ค.ศ.1999 “ทุกคนรับใช้” วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม ใบอนุญาตของโรงเรียนซือลิบจิงกวงหมดอายุลง หลังจากได้ปิดการสอนชั่วคราวมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1996 ค.ศ.2000 “นำผลถวายต่อพระเจ้า” วันเสาร์ที่ 1 มกราคม จัดตั้งคณะโยซูวา เพื่อรองรับสมาชิกไมตรีจิตในวัย 36-50 ปี และมอบหมายให้ อ.บรรพต เมฆสถาพรกุล เป็นศิษยาภิบาลดูแล ค.ศ.2001 “คริสตจักรกับข้าพเจ้า” มกราคม จัดทำหนังสือ “คำพยานชีวิต สมาชิกคริสตจักรไมตรีจิต เล่ม 1 และ เล่ม 2” แจกให้กับสมาชิก วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ จัดพิมพ์หนังสือทำเนียบคริสตจักรฉบับปี ค.ศ.2000 เพื่อแจกจ่ายช่วงอีสเตอร์ วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม ประชุมสมัชชาเรื่องธรรมนูญคริสตจักรไมตรีจิต เพื่อเสนอสมัชชาสมาชิกให้เลือกวิธีการดำเนินการพิจารณาธรรมนูญ ฉบับภาษาจีน (1967) และฉบับร่างภาษาไทยซึ่งร่างมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 ค.ศ.2002 “คริสตจักรกับพระมหาบัญชา” วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ แต่งตั้งคณะกรรมการบันทึกประวัติคริสตจักรไมตรีจิต เพื่อรวบรวมและบันทึกประวัติของคริสตจักรไมตรีจิต วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน รื้อฟื้นการแข่งขันพระคัมภีร์ โดยจัด 2 ครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน และวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ.2003 “ตามรอยพระคริสต์” วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พิธีเปิด “ไมตรีจิตบุ๊คคอนเนอร์” ถ.รามคำแหง ซ.12 เป็นห้องสมุด เพื่อเป็นช่องทางในการเป็นพยานส่วนตัวและประกาศข่าวประเสริฐ ค.ศ.2004 “พระธรรมนำชีวิต” วันอาทิตย์ที่ 7 และ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน สืบเนื่องจากการร่างธรรมนูญคริสตจักรไมตรีจิต จึงมีการทำประชาพิจารณ์ธรรมนูญคริสตจักรไมตรีจิตฉบับร่าง (ปี ค.ศ.2004) ในวันอาทิตย์ที่ 7 และวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2004 เวลา 13:00-17:00 น. วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม สืบเนื่องจากการทำประชาพิจารณ์ธรรมนูญคริสตจักรไมตรีจิต ฉบับร่าง (ปี ค.ศ.2004) จึงมีมติให้นำธรรมนูญคริสตจักรไมตรีจิตฉบับภาษาจีน (ปี ค.ศ.1967) มาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขธรรมนูญคริสตจักร จำนวน 7 ท่าน ค.ศ.2005 “ทางสู่การฟื้นฟู” ค.ศ.2006 “ชีวิตที่ส่องสว่าง” วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ สำหรับการฉลองครบรอบ 170 ปี คริสตจักรไมตรีจิต ในปี ค.ศ.2007 หัวข้อ “170 ปีแห่งพระคุณและพระพร” กำหนดประธานงานฉลอง 170 ปี คือ มย.วิมล ยิ่งโรจน์ธรากุล และจากเดิมที่เสนอวันฉลองเป็นวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2007 ต่อมา (อาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2006) ได้เปลี่ยนแปลงวันฉลองเป็นวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2007 เพื่อให้ตรงกับวันจริงที่เริ่มต้นในปี ค.ศ.1837 วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน จัดพิธีนมัสการพิเศษในช่วงการนมัสการเช้า เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
มีการก่อตั้ง “สภาคริสตจักรในประเทศสยาม” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อแรกเริ่มมีเพียงคริสตจักรไทย และจีนของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน และคริสตจักรจีนไมตรีจิตของอเมริกันแบ๊บติสต์มิชชั่นเท่านั้น ที่เป็นผู้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์แห่งนี้ขึ้น คริสตจักรที่ร่วมกันเป็น สภาคริสตจักรฯ ในตอนแรกเริ่มนั้น ประกอบด้วย
จำนวนนักเรียนของโรงเรียนซือลิบจิงกวงได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงได้ก่อสร้างอาคารสูง 3 ชั้น ทางด้านขวาของตัวอาคารโบสถ์ (อาคารที่เป็นห้องอนุบาลในปัจจุบัน)
เนื่องจากจำนวนนักเรียนของโรงเรียนซือลิบจิงกวงมีมากขึ้น จนถึงราวพันกว่าคน ซึ่งเกินกว่าจำนวนนักเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ในกรณีที่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลจะใช้สถานที่ร่วมกับโรงเรียนประถม โรงเรียนจึงได้แยกชั้นเด็กเล็กออกไปใช้สถานที่ใหม่ บ้านเลขที่ 389 ถนนเจริญเมือง จุฬาซอย 6 เขตปทุมวัน เปิดเป็นโรงเรียนอนุบาลแสงประเสริฐ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการ คือ คุณสุทธิรา ยศสุนทรากุล และมีครูหลื่อ บุ่ง เอ็ง เป็นผู้ช่วย รวมทั้งครูอีก 5 คน และมีนักเรียน 130 คน
ในปีที่คริสตจักรเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปี ผู้ร่วมงานของคริสตจักรหลายท่านต่างมีความตั้งใจตรงกัน ที่จะเริ่มพันธกิจโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เป็นสถาบันอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เติบโตเป็นประชากรที่ดี เป็นผู้นำที่ดีของคริสตจักร และของสังคมไทยต่อไปในอนาคต และเพื่อเป็นการประกาศพระกิตติคุณของพระเจ้าให้กับผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเจ้าด้วย จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นที่อำเภอบางแสน จังหวัดชลบุรี ชื่อว่าโรงเรียนสามมุกคริสเตียนวิทยา เป็นโรงเรียนประจำที่เน้นทั้งด้านวิชาการและคริสเตียนศึกษาค่าก่อสร้างเบื้องต้นส่วนหนึ่ง ได้มาจากผลกำไรของโรงเรียนซือลิบจิงกวงที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และยังสามารถสนับสนุนการขยายพันธกิจด้านการศึกษาของคริสตจักรอีกด้วย
เริ่มดำเนินการย้ายสุสานที่ถนนตกไปยังสุสานที่นครปฐม แม้ว่าการดำเนินการจะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก แต่ในที่สุดก็สำเร็จลงได้ในปีนี้
คริสตจักรมีมติให้แก้ไขธรรมนูญของคริสตจักร ในหมวดที่ 2 ข้อความว่า “มัคนายกมีวาระการทำงานวาระละ 1 ปี และต้องได้รับเลือก จึงมีสิทธิรับตำแหน่งหน้าที่ และถ้าทำงานติดต่อกัน 3 ปี ต้องหยุดพัก 1 ปี และเริ่มธรรมเนียมปฏิบัติ ให้มัคนายกชุดเก่าและชุดใหม่จะต้องมีพิธีส่งมอบงานในวันปีใหม่สากล ซึ่งเป็นวันประชุมสมัชชาประจำปี” ขอบคุณพระเจ้า นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ทำให้คริสตจักรมีคนที่จะสามารถเข้ามาร่วมงานรับใช้ในคณะมัคนายกได้มากขึ้น
เดือนมิถุนายน คณะมัคนายกได้มีมติให้ใช้ “หนังสือเพลงชีวิตคริสเตียน” เป็นหนังสือเพลงสำหรับการนมัสการ
เดือนกรกฎาคม มีการเปลี่ยนสถานที่พักฟื้นคนชราที่ถนนตก (ขณะนั้นแทบจะไม่มีคนชราพักที่นั่น) เป็นสถานคริสเตียนบริการไมตรีจิตถนนตก
มีการย้ายสถานประกาศตรอกจันทน์ มาที่สถานคริสเตียนบริการไมตรีจิตถนนตก
วันที่ 30 ธันวาคม จัดพิธีถวายอาคารโบสถ์รอง (อาคาร 5 ชั้น ด้านตึกในสุด) โดยมีการจัดพื้นที่ใช้สอยดังนี้ ชั้น 1 และ 2 เป็นห้องนมัสการ, ชั้น 3 เป็นห้องนมัสการสำหรับยุวชน ชั้น 4 ให้เป็นที่พักศิษยาภิบาล และชั้น 5 เป็นห้องนมัสการสำหรับอนุชน คริสตจักรได้ซื้อที่ดิน เพื่อจัดทำสุสานที่นครปฐม จำนวน 3 ไร่ 180 ตารางวา และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยอย่างเป็นทางการ ให้จัดตั้งมูลนิธิคริสเตียนบริการ (แบ๊บติสต์)
คริสตจักรได้กำหนดให้มีพิธีมหาสนิท ทุกวันอาทิตย์ที่ 1 ของเดือน และกำหนดพิธีบัพติศมา เป็นทุกวันอาทิตย์ที่ 1 ของเดือนมกราคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม
ปีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สภาคริสตจักรฯ ได้จัดงานฉลองเป็นพิเศษร่วมกับเหตุการณ์นี้ ทางคริสตจักรได้ส่งรายการไปร่วมงานฉลองด้วย ก่อตั้งห้องสมุดของคริสตจักร เพื่อให้สมาชิกและอนุชน ได้อ่านหนังสือและมีข้อมูลค้นคว้ามากขึ้น
มน.พิพัฒน์ โล ได้ทำการปรับปรุงโรงเรียนอนุบาลแสงประเสริฐให้เป็นโรงเรียนอนุบาลที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งอาสาเป็นผู้บริหาร และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการบริหารเป็นเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนด หากโรงเรียนมีกำไรก็ขอเพียงให้คืนต้นทุน แต่หากไม่มีกำไร ก็ให้ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินถวายมีการปรับปรุงห้องประชุมใหญ่ของคริสตจักร
มีการเริ่มจัดทำหนังสือทำเนียบสมาชิกคริสตจักร โดยให้มีรูปถ่ายของแต่ละครอบครัว การทำหนังสือทำเนียบ ทำให้สมาชิกได้มีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น ปีนี้เป็นปีที่คริสตจักรจัดให้มีงานฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อสร้างอาคารโบสถ์ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน จึงได้ซ่อมแซมห้องประชุมใหญ่ มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน เพื่อให้ทันงานฉลองในวันดังกล่าว
โอนสถานประกาศไมตรีจิตทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเริ่มงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 ให้คริสตจักรบางพลีดูแลรับผิดชอบต่อไป หลังจากนั้น คริสตจักรบางพลีและคณะมิชชั่นไมตรีจิต เห็นว่าเราสามารถโอนสมาชิกที่ทับกวาง ให้คริสตจักรในเครือโอเอ็มเอฟที่นั่นดูแลต่อไป
สืบเนื่องจากการก่อตั้งคณะโยชูวาตั้งแต่เดือน มกราคม 2000 คณะศิษยาภิบาลมีมติให้ขยายอายุสมาชิกในวัยโยชูวา จากเดิม 36-50 ปีไปเป็น 36-60 ปี และสามารถเข้าร่วมในวัยพระพร คณะบุรุษ หรือคณะสตรีตามความสมัครใจ